หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

9. คำสำคัญ (Key words)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3 ได้รวบรวมไว้ว่า ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm ได้รวบรวมไว้ว่า คำสำคัญ คือคำต่างๆที่ต้องการให้เครื่องมือการค้นหา ตรวจพบในอินเทอร์เน็ต เครื่องมือจะค้นหาจากชื่อเว็บไซต์  คำสำคัญ และ ส่วนต้นของเนื้อหา ตามลำดับ ดังนั้นควรเขียนคำสำคัญไว้ในทั้งสามส่วน
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)  และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
1.ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
2. ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ
3. ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
4. ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
5. ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
6. ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น Bangkok
7. อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น

https://sites.google.com/site/doubleuu223/kar-khn-khxmul-dwy-search-engine/2-2  ได้รวบรวมไว้ว่า การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร

สรุปความว่า ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)  และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
1.ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
2. ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ
3. ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
4. ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
5. ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
6. ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น Bangkok
7. อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555
https://sites.google.com/site/doubleuu223/kar-khn-khxmul-dwy-search-engine/2-2. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น