หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

14. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3 ได้รวบรวมไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีการเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data)
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง

ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550 : 101)  กล่าวไว้ว่า หลังจากเก็บรวยรวมข้อมูลครบแล้ว การที่ผู้วิจัยจะวิเคราะห์อะไรนั้น ผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนและออกแบบไว้แล้วเช่นกัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยอาจจะกำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนข้อมูลเบื้องต้น
ตอนที่ 2 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนขอข้อความ แยกตามความคิดเห็น
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น
ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามหากตอนใดมีเกณฑ์ของผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยต้องนำเสนอเกณฑ์นั้นด้วย บอกแห่งที่มาของเกณฑ์นั้นด้วย
 
http://suanpalm3.kmutnb.ac.th/teacher/FileDL/maleerat17255418193.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ตามวิธีการที่เหมาะสมกับการวิจัยครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เก็บรวบรวมมาซึ่งข้อสรุปที่ได้สามารถตอบคำถามการวิจัย หรือทดสอบสมมติฐานการวิจัยได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การสรุปข้อมูล
2. การนำเสนอข้อมูล
3. การทดสอบสมมติฐาน
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

สรุปความว่า  การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ตามวิธีการที่เหมาะสมกับการวิจัยครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เก็บรวบรวมมาซึ่งข้อสรุปที่ได้สามารถตอบคำถามการวิจัย หรือทดสอบสมมติฐานการวิจัยได้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยอาจจะกำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนข้อมูลเบื้องต้น
ตอนที่ 2 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนขอข้อความ แยกตามความคิดเห็น
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น
ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามหากตอนใดมีเกณฑ์ของผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยต้องนำเสนอเกณฑ์นั้นด้วย บอกแห่งที่มาของเกณฑ์นั้นด้วย
การวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีการเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง

อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
http://suanpalm3.kmutnb.ac.th/teacher/FileDL/maleerat17255418193.pdf  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น