หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis)


http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=772 ได้รวบรวมไว้ว่า สมมุติฐานในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่คาดคะเนขึ้นอย่างมีเหตุผลว่าจะเป็นคำตอบของการวิจัย
สมมติฐานการวิจัยนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าได้รับการพิสูจน์จากข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าเป็นความจริงหรือตรงกับข้อเท็จจริง สมมติฐานนั้นก็จะกลายเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง
ลักษณะสมมุติฐานการวิจัยที่ดี
1. สมมุติฐานการวิจัยต้องสอดคล้องกับปัญหาวัตถุประสงค์ คำถามการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย
2. มีความชัดเจน เจาะจง
3. ครอบคลุมเนื้อหา ตัวแปรที่ศึกษา
4. ระบุเป็นตัวแปรที่สามารถวัดและทดสอบได้
5. ควรระบุทิศทางความสัมพันธ์ ความแตกต่าง
6. สมเหตุ สมผล

เทียนฉาย  กีระนันทน์ (2547 : 44)  ได้กล่าวว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm ได้รวบรวมไว้ว่า สมมุติฐานของการวิจัยเป็นข้อมูลชั่วคราว (Tentative Assumption) ที่ได้มาจากความรู้ ทฤษฏี หรือความคิดในเรื่องที่ทำการค้นคว้าวิจัย สมมุติฐานยังเป็นข้อความที่ตั้งขึ้นมา เพื่อแสดงความคิดคาดหวังในเรื่องของการวิจัยว่าจะเป็นอย่างไร และใช้เป็นแนวทางอธิบายให้เห็นถึงข้อเท็จจริง เงื่อนไข ของสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกตมาได้ และเป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลได้ตรงเป้าหมาย ในการเขียนสมมุติฐานการวิจัยมีหลักการดังนี้
1. เขียนให้เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย และไม่กว้างจนเกินไป
2. เขียนสมมุติฐานในเรื่องที่สามารถทดสอบได้ โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์
3. ใช้คำที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย
4. เขียนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในสิ่งที่ศึกษาวิจัย
5. ถ้าเป็นเรื่องซ้ำซ้อน ควรแยกออกเป็นสมมุติฐานย่อย ๆ ก็ได้
ในการสร้างสมมุติฐานมี 2 แบบ ดังนี้
1. แบบใช้เหตุผล หรือนิรภัย (Logical หรือ Deductive) โดยการเขียนจากหลักการ หรือทฤษฎี ที่ได้ศึกษาก่อน และตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมานั้น สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีหรือไม่ ข้อสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมุติฐาน แสดงว่าสมมุติฐานนั้นใช้ไม่ได้
2. แบบอาศัยข้อเท็จจริง หรืออุปนัย (Emperical หรือ Inductive) การสร้างสมมุติฐานแบบนี้ต้องอ้างอิงการวิจัยอื่น ๆ สังเกตข้อเท็จจริง พฤติกรรม แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏขึ้น แล้วจึงตั้งสมมุติฐาน
สมมุติฐานไม่ควรจะเป็นเรื่องที่คิดเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาใหม่เอง และไม่ควรเขียนขึ้นภายหลัง เมื่อรู้ลักษณะโดยตลอดของข้อมูลแล้ว สมมุติฐานควรจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของนักวิจัย ในการสังเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับปัญหา

สรุปความว่า  การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable)  สมมติฐานการวิจัยนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าได้รับการพิสูจน์จากข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าเป็นความจริงหรือตรงกับข้อเท็จจริง สมมติฐานนั้นก็จะกลายเป็นคำอธิบายที่ถูกต้อง
ลักษณะสมมุติฐานการวิจัยที่ดี
1. สมมุติฐานการวิจัยต้องสอดคล้องกับปัญหาวัตถุประสงค์ คำถามการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย
2. มีความชัดเจน เจาะจง
3. ครอบคลุมเนื้อหา ตัวแปรที่ศึกษา
4. ระบุเป็นตัวแปรที่สามารถวัดและทดสอบได้
5. ควรระบุทิศทางความสัมพันธ์ ความแตกต่าง
6. สมเหตุ สมผล
การเขียนสมมุติฐานการวิจัยมีหลักการดังนี้
1. เขียนให้เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย และไม่กว้างจนเกินไป
2. เขียนสมมุติฐานในเรื่องที่สามารถทดสอบได้ โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์
3. ใช้คำที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย
4. เขียนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในสิ่งที่ศึกษาวิจัย
5. ถ้าเป็นเรื่องซ้ำซ้อน ควรแยกออกเป็นสมมุติฐานย่อย ๆ ก็ได้
ในการสร้างสมมุติฐานมี 2 แบบ ดังนี้
1. แบบใช้เหตุผล หรือนิรภัย (Logical หรือ Deductive) โดยการเขียนจากหลักการ หรือทฤษฎี ที่ได้ศึกษาก่อน และตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมานั้น สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีหรือไม่ ข้อสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมุติฐาน แสดงว่าสมมุติฐานนั้นใช้ไม่ได้
2. แบบอาศัยข้อเท็จจริง หรืออุปนัย (Emperical หรือ Inductive) การสร้างสมมุติฐานแบบนี้ต้องอ้างอิงการวิจัยอื่น ๆ สังเกตข้อเท็จจริง พฤติกรรม แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏขึ้น แล้วจึงตั้งสมมุติฐาน
สมมุติฐานไม่ควรจะเป็นเรื่องที่คิดเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาใหม่เอง และไม่ควรเขียนขึ้นภายหลัง เมื่อรู้ลักษณะโดยตลอดของข้อมูลแล้ว สมมุติฐานควรจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของนักวิจัย ในการสังเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับปัญหา

อ้างอิง
http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=772 . เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น