หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective)


เทียนฉาย  กีระนันทน์ (2547 : 38) ได้กล่าวว่า การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  2.1 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  2.2 เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
  
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399434  ได้รวบรวมไว้ว่า วัตถุประสงค์การวิจัย  เป็นการกำหนดความต้องการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงของผู้วิจัยว่า  ต้องการศึกษาเรื่องใดภายใต้ขอบเขตอะไร  เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยมุ่งหาคำตอบเรื่องใด  ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย  จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้ 
1. ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัญหา  หรือต้องการพิสูจน์เกี่ยวกับความจริงเรื่องอะไรบ้าง
2. ขอบเขตของปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือต้องการศึกษานั้น  กว้างขวางเพียงใด  ซึ่งกำหนดขอบเขตจะช่วยในการกำหนดประชากร  การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  วิธีดำเนินการวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย
การเขียนวัตถุประสงค์ในการวิจัย  มีข้อควรคำนึงดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง  และความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
2. สามารถกำหนดสมมุติฐานการวิจัยได้  (ถ้าเป็นการวิจัยที่ต้องการทดสอบสมมุติฐาน)
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษา
4. ภาษาที่ใช้เขียนจะต้องสั้นกะทัดรัดได้ใจความ  และมีความชัดเจน
5. วัตถุประสงค์จะต้องระบุวิธีการศึกษา ตัวแปร  และกลุ่มที่ศึกษา
6. สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัยได้
7. การเขียนอาจเขียนในลักษณะการบรรยาย  หรือคำถามก็ได้
8. ถ้าวัตถุประสงค์มีหลายข้อควรเขียนเรียงจากวัตถุประสงค์หลักไปสู่วัตถุประสงค์ย่อย
9. การเขียนวัตถุประสงค์อาจเขียนในลักษณะวัตถุประสงค์รวมก่อนแล้ว  แยกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยๆ เพื่อให้สามารถเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยได้อย่างเหมาะสม  ใคร่ขอเสนอตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์จากชื่อเรื่อง  และสภาพปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

        ชื่อเรื่อง   การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่เรียนโดย   โดยใช้บทความที่มีวิธีการนำเรื่อง  และไม่มีการนำเรื่อง

          ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

            การอ่านเป็นหัวใจของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้  และการแสวงหาความรู้ส่วนการอ่านที่มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นการอ่านที่มีความรวดเร็วสามารถจับใจความสำคัญ  สรุปใจความสำคัญ  และเข้าใจในเรื่องที่อ่านและจากการศึกษาสาเหตุ    การตกซ้ำชั้นของนักเรียน  พบว่า  นักเรียนขาดความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน  หรือเข้าใจได้ช้า  จับใจความสำคัญของเรื่องไม่ได้  นอกจากนี้การฝึกทักษะการอ่านที่นิยมแบบหนึ่งคือ  วิธีนำเรื่อง โดยจัดความคิดรวบยอดของเนื้อเรื่อง  ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงสนใจเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่ ผ่านการทดลองฝึกทักษะจากบทความที่มีวิธีการนำเรื่อง  และบทความที่ไม่มีการนำเรื่อง


จากหัวข้อการวิจัยและความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะพบว่า  ผู้วิจัยต้องการศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภายหลังจากนักเรียนได้ผ่านการฝึกทักษะการอ่านด้วยวิธีการต่าง ๆ 2 วิธี  คือ  วิธีใช้บทความที่มีวิธีนำเรื่อง  และวิธีใช้บทความที่ไม่มีการนำเรื่อง  จะเห็นว่าการวิจัยลักษณะนี้เป็นการวิจัยที่จะต้องทดลอง  โดยสุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มา 2 กลุ่ม  โดยกลุ่มที่ 1  สอนวิธีการสอนใช้บทความที่มีวิธีการนำเรื่อง  และอีกกลุ่มสอนด้วยวิธีการสอนโดยใช้บทความที่ไม่มีการนำเรื่อง  ส่วนการทดลองสอนอาจใช้เวลาสอน 1 เดือน  หรือ 2 เดือน  แล้วแต่ผู้วิจัยจะกำหนดโดยมีเงื่อนไขว่า  เวลาที่ฝึกทักษะนั้นจะต้องเพียงพอที่เห็นผลความแตกต่างของวิธีสอนทั้ง 2 วิธี  จากนั้นจึงทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่าน และแบบทดสอบที่ใช้จะต้องเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพ  นอกจากนี้ถ้าผู้วิจัยไม่แน่ใจว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มก่อนจะนำมาทดลองสอนมีความสามารถเรื่องความเข้าใจในการอ่านแตกต่างกันหรือไม่อาจทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านก่อนที่จะทดลองสอน
                เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความต้องการในการหาคำตอบดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ผู้วิจัยจะสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ต้องการเฉพาะเปรียบเทียบผลของความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน  เมื่อได้รับการฝึกทักษะการอ่านด้วยวิธีที่แตกต่างกันจะกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยได้ดังนี้
          เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่ได้รับการสอน  โดยใช้บทความที่มีการนำเรื่อง  กับบทความที่ไม่มีวิธีการนำเรื่อง
2. ผู้วิจัยคิดว่า  นักเรียนที่มีความสามารถทางภาษาไทยที่แตกต่างกันจะมีความเข้าใจในการอ่านแตกต่างกัน  และสนใจที่จะศึกษาความเช้าใจในการอ่านเฉพาะกลุ่มความสามารถทางภาษาไทยในแต่ละระดับด้วย (สูง, ปานกลาง, ต่ำ)  จากเหตุผลและความต้องการที่เพิ่มขึ้นผู้วิจัยจะกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเพิ่มอีกข้อหนึ่งดังนี้
            เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนกลุ่มสูง  ปานกลาง  และต่ำ ที่ได้รับการสอน  โดยใช้บทความที่มีการนำเรื่อง  กับบทความที่ไม่มีวิธีการนำเรื่อง
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า  การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละเรื่องขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าก่อนที่จะทำการวิจัย   ถ้าผู้วิจัยค้นคว้าได้ละเอียดจะทำให้มองการวิจัยเรื่องนั้นมีความซับซ้อนและแนวทางในการศึกษามากขึ้น  จะทำให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพิ่มขึ้น
 
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
1. ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่ทำวิจัย
2. วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด
3. ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กะทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย
4. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
5. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์
6. วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้
7. จำนวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของการวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหน
8. การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้
9. อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทำเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้

สรุปความว่า การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                                2.1   เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
2.2 เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย  จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้ 
1. ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัญหา  หรือต้องการพิสูจน์เกี่ยวกับความจริงเรื่องอะไรบ้าง
2. ขอบเขตของปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือต้องการศึกษานั้น  กว้างขวางเพียงใด  ซึ่งกำหนดขอบเขตจะช่วยในการกำหนดประชากร  การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  วิธีดำเนินการวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย
การเขียนวัตถุประสงค์ในการวิจัย  มีข้อควรคำนึงดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง  และความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
2. สามารถกำหนดสมมุติฐานการวิจัยได้  (ถ้าเป็นการวิจัยที่ต้องการทดสอบสมมุติฐาน)
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษา
4. ภาษาที่ใช้เขียนจะต้องสั้นกะทัดรัดได้ใจความ  และมีความชัดเจน
5. วัตถุประสงค์จะต้องระบุวิธีการศึกษา ตัวแปร  และกลุ่มที่ศึกษา
6. สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัยได้
7. การเขียนอาจเขียนในลักษณะการบรรยาย  หรือคำถามก็ได้
8. ถ้าวัตถุประสงค์มีหลายข้อควรเขียนเรียงจากวัตถุประสงค์หลักไปสู่วัตถุประสงค์ย่อย
9. การเขียนวัตถุประสงค์อาจเขียนในลักษณะวัตถุประสงค์รวมก่อนแล้ว  แยกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยๆ เพื่อให้สามารถเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยได้อย่างเหมาะสม  ใคร่ขอเสนอตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์จากชื่อเรื่อง  และสภาพปัญหาต่าง ๆ
ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
1. ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่ทำวิจัย
2. วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด
3. ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กะทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย
4. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
5. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์
6. วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้
7. จำนวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของการวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหน
8. การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้
9. อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทำเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้
 
อ้างอิง
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399434.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/ Duddeornweb/object-list1.htm . เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น