หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

13. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3  ได้รวบรวมไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร  จากแหล่งไหน(source of data)  เก็บอย่างไร ใครเป็นผู้เก็บ ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้  บันทึกลงที่ไหน  อย่างไร  และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396678  ได้รวบรวมไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่ แหล่งข้อมูลการวิจัย เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูลการวิจัย หมายถึง แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ อาจเป็นบุคคล สิ่งของ สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้ แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
ประชากร หมายถึง ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
เทคนิควิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. การเลือกแบบเครือข่ายหรือก้อนหิมะ (Network or snowball selection)
2. การเลือกแบบครอบคลุม (Comprehensive selection)
3. การเลือกแบบโควตา หรือการกระจายสูง (Quota or maximum variation selection)
4. การเลือกกรณีสุดโต่ง (Extreme case
5. การเลือกกรณีตามแบบทั่วไป(Typical case)
6. การเลือกกรณีเฉพาะ (Unique case)
7. การเลือกกรณีเด่น(Reputational case)
8. การเลือกกรณีตามแบบทั่วไปในอุดมคติ (Ideal Typical case)
9. การเลือกกรณีเปรียบเทียบ (Comparable case)
เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ก่อนใช้เครื่องมือและวิธีการใดๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สิ่งแรกที่นักวิจัยต้องพิจารณาตอบตนเองให้ได้ คือ ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมมีลักษณะอย่างไร ซึ่งข้อมูลในงานวิจัยนั้นอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะของปรากฏการณ์ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative data) ได้แก่ เหตุการณ์ เรื่องราว ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต เป็นต้น ในขณะที่ข้อมูลอีกประเภทหนึ่งจะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณหรือจำนวนของปรากฏการณ์ เรียกว่า ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative data) ข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ จำนวนหรือตัวเลขที่กำหนดขึ้นแทนค่าของตัวแปร เช่น น้ำหนัก อายุ ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ เป็นต้น
ซึ่งลักษณะข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยจำเป็นต้องจำแนกให้ได้ว่าในการดำเนินงานวิจัยของตนนั้นต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลใด อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เหมาะสมกับข้อมูลที่ตองการ ซึ่งเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นก็มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้เกณฑ์แบ่ง ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ (Material and hardware) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่บุคคลสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงกายภาพ ตัวอย่างเช่น เครื่องชั่ง ตวง และวัด ถ้วยตวง กระบอกตวง เป็นต้น
2. ประเภทไม่ใช้ภาษา(Non - verbal) เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้า จะมีลักษณะเป็นภาพหรือชิ้นส่วนวัสดุสิ่งของ ซึ่งจะนำไปให้บุคคลลงมือปฏิบัติหรือพิจารณาแล้วตอบคำถาม เครื่องมือประเภทนี้ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลทางจิตภาพในส่วนที่เป็นทั้งข้อมูลสติปัญญาและข้อมูลทางบุคลิกภาพ
3. ประเภทใช้ภาษา(Verbal) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ ทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าโดยให้บุคคลอ่านแล้วตอบคำถามโดยการเขียนหรือทำเครื่องหมายตอบ เครื่องมือประเภทนี้เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างแพร่หลาย ซึ่งแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ แบบสำรวจรายการ มาตราส่วนประมาณค่า แบบสอบถามและแบบทดสอบ เป็นต้น
4. ประเภทเทคนิควิธีการ (Technique or method) นอกเหนือจากเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมา ยังมีข้อมูลบางประเภทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถจะใช้เครื่องมือเหล่านั้นเก็บรวบรวมได้ โดยเทคนิควิธีการเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละเทคนิค ดังนี้
4.1. การสังเกต (Observation) การสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- การสังเกตเชิงปริมาณ(Quantitative observation) บางครั้งเรียกว่า การสังเกตแบบมีโครงสร้างหรือการสังเกตอย่างมีระบบ เป็นการสังเกตที่กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน เช่น เวลา สถานที่ หรือวิธีการสังเกต
- การสังเกตเชิงคุณภาพ (Qualitative observation) บางครั้งเรียกว่า การสังเกตเชิงธรรมชนติ (Naturalistic observation) เป็นการสังเกตที่นักวิจัยเข้าไปสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสนามวิจัยอย่างรอบด้าน และบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้ การสังเกตเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ตามความเข้มข้นของการสังเกตและการมีส่วนร่วมของผู้สังเกต ดังนี้
4.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การพูดคุยซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ระหว่างบุคคลหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์(Interviewer) และมีบุคคลที่เป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ (Interviewee)
4.3 การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นการอาศัยความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มที่มีต่อคำถามของผู้วิจัยเป็นข้อมูลตอบคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย โดยสมาชิกที่เข้าร่วมพูดคุยนั้นนักวิจัยได้คัดเลือกอย่างเจาะจงจากกการพิจารณาพื้นภูมิหลังหรือคุณลักษณะต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน นักวิจัยกับสมาชิกไม่จำเป็นต้องมีความคุ้นเคยกันมาก่อน และใช้เวลาสั้นๆ ในการเก็บข้อมูล เอาเฉพาะประเด็นที่ต้องการ

สุรพงษ์    โสธนะเสถียร (2545 : 112)  กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลเริ่มต้นจากการพิจารณาสภาพของข้อมูล สภาพของข้อมูลในที่นี้ หมายถึงการเน้นเนื้อหา ประเด็นดังกล่าวมีขอบเขตอย่างไร และเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาแนวคิดไปจากแนวคิดในเรื่องเดิม ที่มีมาก่อนหน้ามากน้อยเพียงใด ประเด็นดังกล่าวจะมีใครหรือสิ่งใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือกว่าได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลดังกล่าวจะให้ข้อมูลในระดับใด เช่นท้องงถิ่น ระดับประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของการเก็บข้อมูลได้หลายวิธรเช่น เทปบันทึกและเสียง ภาพถ่าย ระเบียบ สถิติ และเอกสารอื่น ๆ

สรุปความว่า  การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร  จากแหล่งไหน(source of data)  เก็บอย่างไร ใครเป็นผู้เก็บ ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้  บันทึกลงที่ไหน  อย่างไร  และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่ แหล่งข้อมูลการวิจัย เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูลการวิจัย หมายถึง แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ อาจเป็นบุคคล สิ่งของ สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้ แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
ประชากร หมายถึง ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
เทคนิควิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. การเลือกแบบเครือข่ายหรือก้อนหิมะ (Network or snowball selection)
2. การเลือกแบบครอบคลุม (Comprehensive selection)
3. การเลือกแบบโควตา หรือการกระจายสูง (Quota or maximum variation selection)
4. การเลือกกรณีสุดโต่ง (Extreme case
5. การเลือกกรณีตามแบบทั่วไป(Typical case)
6. การเลือกกรณีเฉพาะ (Unique case)
7. การเลือกกรณีเด่น(Reputational case)
8. การเลือกกรณีตามแบบทั่วไปในอุดมคติ (Ideal Typical case)
9. การเลือกกรณีเปรียบเทียบ (Comparable case)
เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ก่อนใช้เครื่องมือและวิธีการใดๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สิ่งแรกที่นักวิจัยต้องพิจารณาตอบตนเองให้ได้ คือ ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมมีลักษณะอย่างไร ซึ่งข้อมูลในงานวิจัยนั้นอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะของปรากฏการณ์ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative data) ได้แก่ เหตุการณ์ เรื่องราว ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต เป็นต้น ในขณะที่ข้อมูลอีกประเภทหนึ่งจะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณหรือจำนวนของปรากฏการณ์ เรียกว่า ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative data) ข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ จำนวนหรือตัวเลขที่กำหนดขึ้นแทนค่าของตัวแปร เช่น น้ำหนัก อายุ ส่วนสูง รายได้ อุณหภูมิ เป็นต้น
ซึ่งลักษณะข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยจำเป็นต้องจำแนกให้ได้ว่าในการดำเนินงานวิจัยของตนนั้นต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลใด อันจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เหมาะสมกับข้อมูลที่ตองการ ซึ่งเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นก็มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้เกณฑ์แบ่ง ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ (Material and hardware) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่บุคคลสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงกายภาพ ตัวอย่างเช่น เครื่องชั่ง ตวง และวัด ถ้วยตวง กระบอกตวง เป็นต้น
2. ประเภทไม่ใช้ภาษา(Non - verbal) เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้า จะมีลักษณะเป็นภาพหรือชิ้นส่วนวัสดุสิ่งของ ซึ่งจะนำไปให้บุคคลลงมือปฏิบัติหรือพิจารณาแล้วตอบคำถาม เครื่องมือประเภทนี้ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลทางจิตภาพในส่วนที่เป็นทั้งข้อมูลสติปัญญาและข้อมูลทางบุคลิกภาพ
3. ประเภทใช้ภาษา(Verbal) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ ทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าโดยให้บุคคลอ่านแล้วตอบคำถามโดยการเขียนหรือทำเครื่องหมายตอบ เครื่องมือประเภทนี้เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างแพร่หลาย ซึ่งแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ แบบสำรวจรายการ มาตราส่วนประมาณค่า แบบสอบถามและแบบทดสอบ เป็นต้น
4. ประเภทเทคนิควิธีการ (Technique or method) นอกเหนือจากเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมา ยังมีข้อมูลบางประเภทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถจะใช้เครื่องมือเหล่านั้นเก็บรวบรวมได้ โดยเทคนิควิธีการเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละเทคนิค ดังนี้
4.1. การสังเกต (Observation) การสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- การสังเกตเชิงปริมาณ(Quantitative observation) บางครั้งเรียกว่า การสังเกตแบบมีโครงสร้างหรือการสังเกตอย่างมีระบบ เป็นการสังเกตที่กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน เช่น เวลา สถานที่ หรือวิธีการสังเกต
- การสังเกตเชิงคุณภาพ (Qualitative observation) บางครั้งเรียกว่า การสังเกตเชิงธรรมชนติ (Naturalistic observation) เป็นการสังเกตที่นักวิจัยเข้าไปสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสนามวิจัยอย่างรอบด้าน และบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้ การสังเกตเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ตามความเข้มข้นของการสังเกตและการมีส่วนร่วมของผู้สังเกต ดังนี้
4.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การพูดคุยซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ระหว่างบุคคลหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์(Interviewer) และมีบุคคลที่เป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ (Interviewee)
4.3 การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นการอาศัยความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มที่มีต่อคำถามของผู้วิจัยเป็นข้อมูลตอบคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย โดยสมาชิกที่เข้าร่วมพูดคุยนั้นนักวิจัยได้คัดเลือกอย่างเจาะจงจากกการพิจารณาพื้นภูมิหลังหรือคุณลักษณะต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน นักวิจัยกับสมาชิกไม่จำเป็นต้องมีความคุ้นเคยกันมาก่อน และใช้เวลาสั้นๆ ในการเก็บข้อมูล เอาเฉพาะประเด็นที่ต้องการ

อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396678.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร.(2545).หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น