หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

11. รูปแบบการวิจัย (Research Design)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3 ได้รวบรวมไว้ว่า การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัย หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด  ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับคำถาม หรือปัญหาการวิจัย ที่ต้องการหาคำตอบ ในการศึกษา เพื่อแสวงหา คำตอบของคำถาม ควรประกอบไปด้วย กระบวนการศึกษาที่ครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ การศึกษาขนาดของปัญหา ว่ามีมากน้อยเพียงใด (ศึกษาเกี่ยวกับทุกข์) เมื่อทราบว่าโรคนั้นเป็นปัญหา ขั้นต่อไปก็คือการศึกษา ต้นเหตุของปัญหา (สมมุทัย) การศึกษาหาต้นเหตุของปัญหา ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ ในการแก้ปัญหา (นิโรธ) และขั้นต่อไปก็คือ การเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา

บุญธรรม   กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2533:16)  ได้กล่าวว่า  รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

                http://pui019.blogspot.com/2012/11/research-design.html  ได้รวบรวมไว้ว่า รูปแบบการวิจัย (Research Design) เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้นเป็นการวิจัยที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามที่หน่วยงานกำหนดหรือกำกับการดำเนินงานวิจัยของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น เช่นตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร ฯ ทำความเข้าใจกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ของรูปแบบนั้นแล้วปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด

สรุปความว่า  รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1. การวิจัยโดยการสังเกต (observational research)
2. การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัย หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด  ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับคำถาม หรือปัญหาการวิจัย ที่ต้องการหาคำตอบ ในการศึกษา เพื่อแสวงหา คำตอบของคำถาม ควรประกอบไปด้วย กระบวนการศึกษาที่ครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ การศึกษาขนาดของปัญหา ว่ามีมากน้อยเพียงใด (ศึกษาเกี่ยวกับทุกข์) เมื่อทราบว่าโรคนั้นเป็นปัญหา ขั้นต่อไปก็คือการศึกษา ต้นเหตุของปัญหา (สมมุทัย) การศึกษาหาต้นเหตุของปัญหา ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ ในการแก้ปัญหา (นิโรธ) และขั้นต่อไปก็คือ การเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา
 
อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2533). การวิจัย การวัดและประเมินผลกรุงเทพฯ โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
http://pui019.blogspot.com/2012/11/research-design.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น