หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย

               http://blog.eduzones.com/jipatar/8592  ได้รวบรวมไว้ว่า  ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขา วิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
  
                 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399983 ได้รวบรวมไว้ว่า  เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละเรื่องเราไม่สามารถที่จะศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น การกำหนดขอบเขตของการวิจัย จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น จะประกอบด้วย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยต้องระบุว่าประชากรเป็นใคร ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าไร และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีใด
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยต้องระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด
ในงานวิจัยบางเรื่องอาจจะระบุขอบเขตด้านเนื้อหาเข้าไปด้วย เพื่อให้มองเห็นของเขตในการวิจัยได้มากขึ้น การเขียนขอบเขตการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะต้องครอบคลุมว่าจะศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบความคิดของการวิจัย ( Research framework ) ควรมีการระบุเหตุผลที่เรานำเอาตัวแปรเหล่านั้นเข้ามาศึกษา ในกรอบความคิด ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลัง เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิด
ส่วนขอบเขตประชากรนั้น ผู้วิจัยต้องอธิบายว่ากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องจริง แล้วครอบคลุมคนกลุ่มใด ทำไมเราจึงสนใจที่จะศึกษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น  

  http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1 ได้รวบรวมไว้ว่า  ขอบเขตในการวิจัย ที่ต้องกำหนด ประกอบด้วย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
. ลักษณะของประชากร
. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
2. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
3. ตัวแปรที่ศึกษา
ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
และขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง) ซึ่งประกอบด้วย
1. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 


              สรุปความว่า  ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขา วิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา  ซึ่งประกอบด้วย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ผู้วิจัยต้องอธิบายว่ากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องจริง แล้วครอบคลุมคนกลุ่มใด ทำไมเราจึงสนใจที่จะศึกษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ประกอบด้วย
. ลักษณะของประชากร
. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
2. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
3. ตัวแปรที่ศึกษา ผู้วิจัยต้องระบุ
ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
ในงานวิจัยบางเรื่องอาจจะระบุขอบเขตด้านเนื้อหาเข้าไปด้วย เพื่อให้มองเห็นของเขตในการวิจัยได้มากขึ้น การเขียนขอบเขตการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะต้องครอบคลุมว่าจะศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบความคิดของการวิจัย ควรมีการระบุเหตุผลที่เรานำเอาตัวแปรเหล่านั้นเข้ามาศึกษา ในกรอบความคิด ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลัง เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิด
และขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง) ซึ่งประกอบด้วย
1. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 

อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/8592.  เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399983 . เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555
http://www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น